สนุกกับการเรียนรู้กลไก

 

Machine2
ชุดสื่อการเรียนรู้สนุกกับกลไก ช่วยให้ผุ้เรียนเข้าใจรู้การเคลื่อนที่ องค์ประกอบของกลไก และพื้นฐานของการใช้พลังงาน ที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจการทำงานเบื้องต้นของมอเตอร์ ซึ่งใช้ควบคุมใบพัด และชุดเฟืองกลไกที่เปลี่ยนการหมุนของมอเตอร์เป็นการเคลื่อนไหวของขาหุ่นยนต์ ทำให้ชิ้นงานเคลื่อนที่ไปได้ ประกอบด้วย รถแข่งพลังลม หุ่นยนต์เต่า หุ่นยนต์กระต่าย และหุ่นยนต์แมงมุม นักเรียนสามารถประกอบหุ่นยนต์เองเพื่อนำมาวิ่งแข่งขันกันได้

การเรียนรู้กลไกและความเชื่อมโยง

การสร้างมูลฐานความคิดสำหรับเข้าใจถึงการเชื่อมโยงโครงสร้างต่างๆ ในสภาพแวดล้อมใกล้ตัวที่ต้องอาศัยความเชื่อมโยงกันอยู่เสมอ ด้วยพื้นฐานความเชื่อมโยงนี้สามารถต่อยอดให้มองภาพรวมโครงสร้างต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่หรือโครงสร้างการเคลื่อนไหวอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างการเคลื่อนไหวของสัตว์ การเคลื่อนที่ของรถยนต์ การเคลื่อนที่ของแมลง ฯลฯ ด้วยมุมมองและแบบฝึกหัดด้วยอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้เด็กๆ มองเห็นโครงสร้างง่ายๆ ของกลไกต่างๆ ที่ช่วยให้มองเห็นวิธีการเคลื่อนที่อันเป็นส่วนช่วยให้เกิดมโนภาพพื้นฐาน เพื่อพัฒนาไปสู่โครงสร้างที่ซับซ้อนในอนาคตได้

สนุกกับหุ่นยนต์เต่า

กลไกการเคลื่อนที่นั้นสามารถแบ่งออกไปได้หลายแบบซึ่งการเคลื่อนที่แบบต่างๆ มีลักษณะเฉพาะตัวดังนี้

การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง : เป็นลักษณะที่ทำให้วัตถุจะเคลื่อนที่ในแนวเดิมหรือทิศทางตรงข้าม
การเคลื่อนที่แนวโค้ง : เป็นลักษณะที่วัตถุมีการเคลื่อนที่ 2 แนวพร้อมๆ กัน เช่น เคลื่อนที่ในแนวราบและในแนวดิ่ง
การเคลื่อนที่วงกลม : ลักษณะที่วัตถุเคลื่อนที่เป็นส่วนโค้งรอบจุดๆ หนึ่ง โดยมีแรงกระทำในทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย : เป็นลักษณะที่วัตถุเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำรอยเดิมคล้ายกับคลื่นเหมือนเราสบัดเชือก เป็นต้น

การเคลื่อนที่ต่างๆ ด้วยกลไกหรือล้อย่อมมีการเกี่ยวข้องกับระบบของแรงเสมอๆฉะนั้นเรามาดูความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้กัน

แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ

การเคลื่อนไหวหรือทำให้วัตถุหนึ่งวัตถุใดเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งนั้นจะต้องมีแรงมากระทำ ซึ่งแม้ว่าจะมีแรงมากระทำแล้วตามก็อาจจะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนไหวหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นมีแรงย่อยๆ มาเกี่ยวข้องหรือไม่ เช่น แรงเสียดทาน ความฝืด พื้นผิวที่วัตถุนั้นวางทับขรุขระหรือไม่ เป็นต้น

สนุกกับหุ่นยนต์กระต่าย

แรงเป็นปริมาณที่มีขนาดและทิศทาง แรงจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ การรวมแรงต้องรวมแบบเวกเตอร์ ในการรวมแรงหลายๆ แรงที่กระทำต่อวัตถุ ถ้าผลรวมของแรงที่ได้เป็นศูนย์แสดงว่า วัตถุนั้นอยู่ในสภาพสมดุล เมื่อปล่อยวัตถุ วัตถุนั้นจะตกลงสู่พื้นดิน แสดงว่ามีแรงกระทำต่อวัตถุ ซึ่งแรงนั้นเกิดจากแรงดึงดูดที่โลกกระทำต่อวัตถุ หรือที่เรียกว่า แรงโน้มถ่วงของโลก หรือน้ำหนักของวัตถุนั่นเอง แรงโน้มถ่วงนี้จะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุ ในการลากวัตถุให้เคลื่อนที่ไปบนพื้นผิวจะมีแรงต้านการเคลื่อนที่ เรียกแรงนี้ว่า แรงเสียดทาน ซึ่งแรงเสียดทานจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะผิวสัมผัสระหว่างวัตถุทั้งสองและแรงที่วัตถุกดพื้น กิจกรรมบางอย่างต้องการให้ผิวสัมผัสมีแรงเสียดทาน แต่กิจกรรมบางอย่างต้องการลดแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส

สนุกกับหุ่นยนต์แมงมุม

ในบางกรณี เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุอาจทำให้วัตถุหมุน เรียกว่าเกิดโมเมนต์ของแรง ซึ่งเกิดเมื่อแรงที่กระทำมีทิศตั้งฉากกับระยะทางจากจุดหมุนไปยังแนวแรง การหมุนนี้มีทั้งหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกา การเคลื่อนที่ของวัตถุนอกจากจะเคลื่อนที่ในแนวตรงแล้ว ยังมีการเคลื่อนที่แบบอื่นอีก เช่น การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่แนวโค้ง โดยได้ระยะทางในแนวราบและแนวดิ่งพร้อมๆ กัน การเคลื่อนที่ในแนววงกลม เป็นการเคลื่อนที่ที่มีแรงกระทำต่อวัตถุในทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง

มาเล่นสนุกกับกลไกกันเถอะ

เรามีโครงสร้างกลไกที่เหมาะสมกับเด็กๆ ด้วยชิ้นส่วนองค์ประกอบที่น่ารักสร้างเสริมจินตนาการของเด็กๆ ได้ด้วยรูปทรงง่ายๆ เช่น หุ่นยนต์กระต่าย หุ่นยนต์เต่า หุ่นยนต์แมงมุมและรถพลังงานลมเป็นต้น

สนุกกับรถแข่งพลังลม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 0 2826 8263 โทรสาร 0 2826 8356-59 อีเมล์ stem@se-ed.com