ชุดฝึกการทดลองบ้านอัจฉริยะ (Smart Home Learning Kit)

 

ชุดฝึกการทดลองบ้านอัจฉริยะ (Smart Home Learning Kit) เป็นชุดการทดลอง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจถึงการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มาประกอบเข้ากับตัวโมเดลบ้านที่มาพร้อมกันกับชุดทดลอง รวมทั้งเรียนรู้การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานต่างๆ ที่เลือกได้ 2 รูปแบบคือ การพัฒนาด้วยโปรแกรม Arduino IDE Software และ Mixly Software นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้คุณสมบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์เซนเซอร์และต่อร่วมทางด้านอินพุต และอุปกรณ์ทางด้านเอาต์พุตในการแสดงผลการทำงานหรือกระทำคำสั่งต่างๆ โดยตัวบอร์ดควบคุมจะใช้รุ่น Arduino UNO ที่เป็นที่นิยมและมีข้อมูลให้เรียนรู้และค้นคว้ามากมาย

อุปกรณ์ต่างๆ ในชุดการทดลองบ้านอัจฉริยะ

อุปกรณ์สำหรับชุดการทดลองบ้านอัจฉริยะ (Smart Home Learning Kit)

อุปกรณ์ต่างๆ ที่มาพร้อมในชุดทดลองแสดงในรูปข้างบน โดยจะแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้คือ บอร์ดควบคุมการทำงาน Arduino UNO, บอร์ดขยายการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ (Arduino shield), อุปกรณ์รับสัญญาณอินพุตต่างๆ เช่น เซนเซอร์ตรวจจับความชื้นดิน, เซนเซอร์ตรวจจับน้ำฝน, เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น, ตัวรับสัญญาณอินฟราเรด, การตรวจจับสัญญาณเสียง และโมดูลบลูทูธ เป็นต้น ในส่วนของอุปกรณ์ทางด้านเอาต์พุตประกอบด้วยจอแสดงผลแอลซีดี 16X2, เซอร์โวมอเตอร์, มอเตอร์พัดลมแบบกระแสตรง, สายแพรเชื่อมต่อสำหรับทดลอง 1 ชุด, ตลับใส่แบตเตอรี่สำหรับทดลอง 1 ชิ้น, ชุดประกอบโมเดลบ้านเป็นแผ่นไม้ 1 ชุด และสกรูรวมถึงน๊อตสำหรับประกอบโมเดลบ้านในชุด

โปรแกรมที่ใช้ในการทดลองบ้านอัจฉริยะ

สำหรับโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์นั้น จะมีให้ใช้งานได้ 2 แบบคือ โปรแกรม Arduino IDE Software และ Mixly Software ทั้งนี้โปรแกรมทั้ง 2 แบบจะมีความยากง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งสามารถเลือกนำไปใช้งานให้กับผู้เรียนได้ตามความเหมาะสม กล่าวคือ โปรแกรม Mixly Software จะเหมาะสมกับผู้เรียนที่ต้องการเรียนรู้แบบพื้นฐานเหมาะสำหรับผู้เรียนในระดับประถมถึงมัธยมต้น ในส่วนของโปรแกรม Arduino IDE Software จะเหมาะสำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมปลายและระดับอาชีวะขึ้นไป

แสดงตัวอย่างของโปรแกรม Mixly Software

ลักษณะของโปรแกรม Arduino IDE Software

การเขียนโปรแกรมด้วย Mixly Software ในระดับเริ่มต้น

สำหรับผู้เรียนที่มีพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมน้อยหรือผูเรียนระดับเริ่มต้นนั้น ในชุดการทดลองจะมีเนื้อเนื้อหาแนะนะการเขียนโปรแกรมด้วย Mixly Software ก่อน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ การทำความรู้กับกับโปรแกรม กลุ่มคำสั่งที่นำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม คำอธิบายคำสั่งเพื่อเป็นการปูพื้นฐานในการเรียนเบื้องต้น

แสดงหน้าต่างเมื่อเปิดการใช้งานโปรแกรม Mixly Software

ตัวอย่างคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม Mixly Software

ตัวอย่างคำอธิบายการใช้งานคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม Mixly Software

ใบงานการทดลองสำหรับชุดฝึกบ้านอัจฉริยะ 

สำหรับชุดฝึกการทดลองบ้านอัจฉริยะ (Smart Home Learning Kit) นี้จะมาพร้อมกับการทดลองทั้งหมด 10 รูปแบบ เพื่อให้สามารถเรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ต่อร่วมอินพุต/เอาต์พุตต่างๆ รวมทั้งการเขียนโปรแกรมในการควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง โดยในส่วนของเนื้อหาการทดลองจะเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักอุปกรณ์ในแต่ละตัวก่อน จากนั้นจะเป็นการนำความรู้ที่ได้มาใช้งานร่วมกันและให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบตามความเหมาะสมโดยใช้ชุดฝึกบ้านอัจฉริยะเป็นชุดทดลอง สำหรับรูปข้างล่างจะแสดงเนื้อหาของโครงงานในการทดลองทั้งหมด

เนื้อหาโครงงานการทดลองชุดฝึกบ้านอัจฉริยะรวม 10 การทดลอง  

ตัวอย่างการทดลองบ้านอัจฉริยะ

ในการเรียนรู้ของชุดฝึกการทดลองบ้านอัจฉริยะนี้ จะเป็นลำดับและขั้นตอนของเนื้อหาต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเมีความเข้าใจ ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ตั้งแต่แนวความคิดของการทดลอง การเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการทดลอง วงจรที่ใช้ในการทดลอง การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงาน ซึ่งจะมีตัวอย่างของการทดลองให้ผู้เรียนทำความเข้าใจได้ง่าย และลักษณะของตัวอย่างการทดลองแสดงดังในรูปข้างล่าง

แสดงการจัดเตรียมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการทดลอง

การต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับบอร์ดควบคุม Arduino UNO

แสดงตัวอย่างการโปรแกรมที่พัฒนาด้วยโปรแกรม Mixly Software

แสดงตัวอย่างโปรแกรมที่พัฒนาด้วย Arduino IDE Software

สำหรับตัวอย่างการทดลองที่แสดงให้เห็นข้างบนนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ ของชุดฝึกการทดลองบ้านอัจฉริยะ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในลักษณะโครงงานเล็กๆ ประมาณ 9 เรื่อง การใช้งานแอพพลิเคชั่นสำหรับควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านและการเรียนรู้คุณสมบัติของอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้  รวมทั้งการเรียนรู้คำสั่งต่างๆ ในการเขียนโปรแกรม Mixly Software และส่วนของ Arduino IDE Software

การต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับบอร์ดควบคุม

การต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับบอร์ดควบคุมและบอร์ดขยายการทำงาน 

ในรูปที่แสดงข้างบนเป็นการต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับบอร์ดขยายการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ ทั้งนี้ในขั้นตอนการประกอบบอร์ดควบคุมร่วมกับตัวโมเดลบ้านอัจฉริยะ ผู้เรียนจะต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง เนื่องจากโปรแกรมแอพพลิเคชั่นจะสั่งการทำงานมายังอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ในส่วนของการพัฒนาด้วยโปรแกรม Mixly Software และ Arduino IDE Software ผู้เรียนสามารถปรับเปลี่ยนจุดต่อไปยังส่วนที่ต้องการได้และกำหนดการสื่อสารและการเชื่อมต่อผ่านการพัฒนาโปรแกรมได้อย่างอิสระ

การใช้งานแอพพลิเคชั่นควบคุมบ้านอัจฉริยะ

หน้าแรกของแอพพลิเคชั่นสำหรับควบคุมบ้านอัจฉริยะ

คำอธิบายสำหรับการควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นควบคุมบ้านอัจฉริยะ

รูปแสดงตัวอย่างการเปิดประตูบ้านด้วยการป้อนเลขรหัส

การใช้งานแอพพลิเคชั่นเพื่อควบคุมการทำงานต่างๆ ในบ้านอัจฉริยะแสดงในรูปข้างบน โดยในรูปแรกจะเป็นลักษณะของการแสดงผลแอพพลิเคชั่นจะเป็นแบบกราฟฟิกให้เข้าใจง่าย ซึ่งในกรณีที่เราต้องการควบคุมอุปกรณืส่วนใดให้เราแตะที่กราฟฟิกนั้นๆ ซึ่งการทำงานของแต่ละอุปกรณ์จะอธิบายตามรูปถัดมา ทั้งนี้โปรแกรมแอพพลิเคชั่นใช้งานนี้จะมาพร้อมในชุดและสามารถติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือได้ทันที

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 0 2826 8263 โทรสาร 0 2826 8356-59 อีเมล์ stem@se-ed.com

.