สื่อการเรียนรู้หุ่นยนต์แมงมุมขนาดเล็กจาก Hiwonder

 

 

แปลและเรียบเรียง : ณัฐพนธ์ จงฤกษ์มงคล

สื่อการเรียนรู้หุ่นยนต์แมงมุมขนาดเล็ก ควบคุมด้วบบอร์ด BBC Micro:bit ที่สามารถเรียนรู้และศึกษาเองได้ง่าย ตัวหุ่นยนต์ขนาดเล็กและเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานได้ทั้งแบบบล็อกโค้ด (MakeCode) และการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอน (Python language) ซึ่งผู้สอนสามารถแบ่งรูปแบบการเรียนรู้ได้ทั้ง 2 ระดับ ตัวหุ่นยนต์ประกอบขึ้นเองได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป

องค์ประกอบของตัวหุ่นยนต์แมงมุมขนาดเล็ก

องค์ประกอบของตัวหุ่นยนต์สำหรับเรียนรู้ทั้งหมดจะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ สำคัญคือ ส่วนแรกบอร์ดควบคุม Microbit (ในรูปด้านซ้ายมือบน) สำหรับให้ผู้เรียนเขียนโปรแกรมควบคุม ส่วนที่สองบอร์ดขยายสำหรับควบคุมอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต (ในรูปด้านซ้ายมือล่าง) ส่วนที่ 3 ตัวโครงสร้างหุ่นยนต์ประกอบด้วยขาทั้ง 4 ขิ้น รวมทั้งส่วนลำตัว ส่วนที่ 4 เป็นส่วนของการเขียนโปรแกรมซึ่งจะใช้ผ่านคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพาต่างๆ และการโปรแกรมเข้าไปยังบอร์ดควบคุม

โครงสร้างตัวหุ่นยนต์เป็นอลูมิเนียมและใช้เซอร์โวมอเตอร์แบบใหม่

สื่อการเรียนรู้หุ่นยนต์แมงมุม ตัวโครงสร้างจะเป็นอลูมิเนียมและเซอร์โวมอเตอร์แบบใหม่ที่ใช้คอนเน็กเตอร์ 3 ขา ที่สามารถต่อกันแบบอนุกรมด้วยสายไฟที่เป็นลำดับและช่วยให้เป็นระเบียบเรียบร้อย นอกจากนี้ตัวหุ่นยนต์ยังมีอุปกรณืต่อร่วมต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจจับสิ่งกัดขวางหรือการเคลื่อนที่ที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น

การเขียนโปรแกรมควบคุมตัวหุ่นยนต์และแอพพลิเคชั่นสำหรับควบคุม

การควบคุมตัวหุ่นยนต์นั้น สามารถควบคุมได้ทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปหรือควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพาต่างๆ ทั้งนี้การควบคุมควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพาจะเน้นในเรื่องรูปแบบการควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์ การทำงานของตัวหุ่นยนต์ และการปรับแต่งการลักษณะของการเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์เป็นหลัก และในส่วนของการใช้คอมพิวเตอร์จะเน้นในเรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานตามที่ผู้เรียนต้องการ รวมถึงการเขียนโปรแกรมเพื่อแข่งขันตามภาระกิจต่างๆ เป็นต้น

การเคลื่อนที่สำหรับหุ่นยนต์แมงมุม

ตัวอย่างการเคลื่อนที่สำหรับหุ่นยนต์แมงมุมคือ การหลบหลีกสิ่งกีดขวางด้วยการลอดผ่าน (รูปด้านซ้ายบน), การสลับด้านด้านของตัวหุ่นยนต์และเคลื่อนที่ (รูปด้านซ้ายล่าง), การเคลื่อนที่ในเขาวงกตและสามารถออกจากพื้นทีได้เอง (รูปด้านขวาบน) และตัวหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่บนโต๊ะ (รูปด้านขวาล่าง)โดยไม่ตก ด้วยการควบคุมในตัวเอง

อุปกรณ์ใช้งานร่วมเพิ่มเติมและตัวหุ่นยนต์ใช้งานได้ประมาณ 2 ชั่วโมง

สำหรับตัวยนต์แมงมุมยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมเพิ่มเติม (รูปด้านซ้าย) สำหรับการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่นรีโมทควบคุมแบบใช้บอร์ดควบคุม Microbit, อุปกรณ์เซนเซอร์ และอุปกรณ์เอาต์พุต่างๆ สำหรับเรียนรู้การควบคุมได้หลายรูปแบบ นอกจากนี้ตัวหุ่นยนต์สามารถใช้งานได้ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งช่วยเพิ่มเวลาสำหรับการเรียนรู้ได้มากขึ้น

ตารางแสดงรายการอุปกรณ์ต่างๆ ของตัวหุ่นยนต์แมงมุม 

ในรูปตารางข้างบนจะเป็นรายการอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะมาพร้อมกับตัวหุ่นยนต์แมงมุม ซึ่งในชุดเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ในระดับพื้นฐาน (ระดับปฐมศึกษา) จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือในระดับอาชีวศึกษา

ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของตัวหุ่นยนต์

สุดท้ายจะเป็นรูปแสดงค่าพารามิเตอร์ของตัวหุ่นยนต์ต่างๆ เกี่ยวกับตัวหุ่นยนต์แมงมุม เช่น ขนาดและน้ำหนักของตัวหุ่นยนต์, ค่าแรงดัน กระแส ความจุของตัวแบตเตอรี่และระยะเวลาที่ใช้งาน, รูปแบบของการเคลื่อนที่, โปรแกรมที่ใช้งานร่วมกับตัวหุ่นยนต์ รวมถึงคุณสมบัติของตัวมอเตอร์ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่ง สำหรับวิดีโอข้างล่างนี้จะเป็นการแนะนำตัวหุ่นยนต์ให้เข้าใจได้ง่ายอีกแบบหนึ่งเช่นกัน

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้
เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 0 2826 8154 อีเมล์ stem@se-ed.com

.