หุ่นยนต์รักษาสมดุลย์ในตัวเอง (Qbit : Self-balancing Robot)

หุ่นยนต์รักษาสมดุลย์ในตัวเอง (Hiwonder Qbit) ซึ่งบอร์ดควบคุมไมโครบิต (micro:bit) ควบคุมการเคลื่อนที่ผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางด้านหน้าโดยใช้โปรแกรมควบคุมการทรงตัว ซึ่งตัวหุ่นยนต์จะเป็นสื่อการเรียนพื้นฐานสำหรับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ซึ่งรองรับการเขียนโปรแกรมควบคุมแบบกราฟฟิกในระดับเริ่มต้นและระดับปานกลาง ด้วยการเขียนโปรแกรมแบบตัวอักษร (Text Mode) มีอุปกรณ์เสริมต่างๆ ในชุดและเข้ากันได้กับตัวต่อ LEGO เพื่อให้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมได้หลายรูปแบบเหมาะสำหรับน้องๆ ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวะศึกษาและวิทยาลัย

อุปกรณ์ต่างๆ ของตัวหุ่นยนต์ (Hiwonder Qbit) 

คุณสมบัติการทำงานของหุ่นยนต์
  1. โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา : micro:bit (block editor/JavaScript/Python)
  2. แหล่งจ่ายไฟเลี้ยง : แบตเตอรี่ 14500 ชนิดลิเทียม 3.7 โวลต์
  3. การชาร์จแบตเตอรี่ : ชาร์จผ่านพอร์ต USB
  4. ระยะเวลาการใช้งาน : 1 ชั่วโมง
  5. ขนาดของตัวหุ่นยนต์ : 218X156X55 มิลลิเมตร
  6. น้ำหนักของตัวหุ่นยนต์ : 158 กร้ม
  7. อุปกรณ์ต่างๆ ในชุดหุ่นยนต์
    • บอร์ดประมวลผลไมโครบิต 1 บอร์ด
    • บอร์ดต่อร่วมชิ้นบน 1 บอร์ด
    • บอร์ดต่อร่วมชิ้นล่าง 1 บอร์ด
    • เซนเซอร์อัลตร้าโซนิกส์ 1 ตัว
    • สายแพรเชื่อมต่อ 1 ชุด
    • ไขควงสำหรับประกอบ 1 ด้าม
    • สกรูสำหรับประกอบหุ่นยนต์ 1 ชุด
    • เซนเซอร์อินฟราเรด 1 ตัว

ในส่วนของบอร์ดประมวลผลจะใช้บอร์ดที่ชื่อว่าไมโครบิต (micro:bit) ซึ่งเป็นบอร์ดที่สามารถใช้งานได้ฟรี (Open source) เดิมสร้างขึ้นโดย BBC โดยร่วมมือกับผู้นำธุรกิจและสถาบันการศึกษาอีก 29 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Make It Digital ของ BBC โครงการสำคัญทั่วสหราชอาณาจักรนี้เปิดตัวในปี 2014 โดยมุ่งเน้นที่การสร้างนักประดิษฐ์ดิจิตอล

บอร์ดประมวลผลไมโครบิต (micro:bit) 

การควบคุมหุ่นยนต์รักษาสมดุลย์ในตัวเอง

การควบคุมหุ่นยนต์รักษาสมดุลย์ในตัวเองนี้สามารถเลือกได้ 2 รูปแบบคือ การควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะมีส่วนของจอยสติกส์เสมือนแสดงให้เห็นการควบคุมและการแสดงผลต่างๆ ระหว่างการเคลื่อนที่ สำหรับการควบคุมอีกรูปแบบหนึ่งโดยการใช้รีโมทอินฟราเรดที่สามารถใช้งานได้สะดวกและง่าย ซึ่งส่วนของตัวรีโมทควบคุมจะมาพร้อมในชุดที่สั่งชื้อ

แสดงลักษณะควบคุมหุ่นยนต์ (Hiwonder Qbit) 

การเขียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์

สำหรับโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาตัวหุ่นยนต์นั้น มีด้วยกัน 2 แบบคือ แบบแรกจะเป็นลักษณะของกราฟฟิกโปรแกรม (Graphical Programming) เหมาะสำหรัยผู้เริ่มต้นการเรียนรู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นที่เข้าใจง่าย (https://makecode.microbit.org/#editor) โดยผู้เรียนสามารถใช้งานผ่านการประมวลผลระบบคลาวด์ (Cloud Server) ซึ่งอยู่บนแพลตฟอร์มของไมโครบิต (https://microbit.org/) และในส่วนของการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาจาวาสคริป (JavaScript Programming) และภาษาไพธอน (Python) จะเหมาะสำหรับผู้เรียนมีพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับเบื้องต้น เพื่อให้สามารถรองรับการควบคุมตัวหุ่นยนต์ที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น

อุปกรณ์ต่อใช้งานร่วมกับหุ่นยนต์

อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อร่วมกับหุ่นยนต์นั้น จะมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้สำหรับการทดลองหรือปรับเปลี่ยนการทดลองตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้ทดลอง โดยในชุดจะประกอยด้วยอุปกรณ์เซนเซอร์แสง, อุปกรณ์เซนเซอร์เสียง, อุปกรณ์วัดความเร่งของการเคลื่อนที่, อุปกรณ์เซนเซอร์สี, อุปกรณ์เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุสิ่งกีดขวาง, อุปกรณ์จอแสดงผลแอลอีดี, อุปกรณ์รับสัญญาณอินฟราเรด, อุปกรณ์เซนเซอร์อัลตร้าโซนิก, อุปกรณ์เซนเซอร์การสัมผัส, อุปกรณ์ตรวจจับเส้น, อุปกรณ์แสดงผลแอลอีดี (RGB), อุปกรณ์ตรวจอุณหภูมิ, อุปกรณ์ลูกบิด, พัดลม, เซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิของน้ำและอื่นสำหรับหุ่นยนต์

ลักษณะอุปกรณ์สำหรับต่อร่วมกับหุ่นยนต์ (Hiwonder Qbit) 

วิดีโอแนะนำการประกอบและใช้งานหุ่นยนต์

สำหรับการประกอบตัวหุ่นยนต์ การทดสอบการทำงาน การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อเขียนโปรแกรมควบคุมต่างๆ รวมถึงวิธีการทดสอบควบคุมการทำงานของตัวหุ่นยนต์ต่างๆ นั้น จะนำเสนออย่างเป็นขั้นตอนในรูปวิดีโอ (ข้างล่างนี้) เพื่อเป็นแนวทางให้สามารถประกอบและใช้ตัวหุ่นยนต์ได้อย่างถูกต้อง

ข้อมูลอ้างอิง

  1. https://microbit.org/about/#top
  2. https://www.hiwonder.hk/collections/microbit/products/qbit-self-balancing-robot-kit-powered-by-micro-bit-compatible-with-lego
  3. https://tech.microbit.org/
  4. https://th.cytron.io/c-micro-bit/c-micro-bit-main-board/p-micro-bit-board
  5. https://microbit.org/projects/

.

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 0 2826 8263 โทรสาร 0 2826 8356-59 อีเมล์ stem@se-ed.com

.