แนะนำหุ่นยนต์ Robobloq Coding Express

สำหรับหุ่นยนต์ Robobloq Coding Express จะเป็นสื่อการเรียนรู้เขียนโปรแกรมแบบใช้สติกเกอร์สีเป็นตัวกำหนดตำสั่ง โดยจะเป็นลักษณะของเล่นสำหรับเด็กอีกรูปแบบหนึ่งที่ออกแบบมาเป็นลักษณะของรถไฟและเหมาะสำหรับเด็ก 3 ขวบขึ้นไป หรือก่อนเรียนระดับประถมต้น นอกจากนี้ตัวหุ่นยนต์ยังมีรูปแบบของการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนให้เข้าใจการใช้งาน สามารถใช้ในการเรียนรู้ในครอบครัวและสถานศึกษาเพื่อให้การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้น

คุณสมบัติของตัวหุ่นยนต์

  1. ชื่อตัวหุ่นยนต์ : Coding Express
  2. ตัวหุ่นยนต์รุ่น : RB-00010
  3. น้ำหนักตัวหุ่นยนต์ : 1.2kg
  4. วัสดุตัวสำหรับหุ่นยนต์: PC+ABS, Beech
  5. แหล่งจ่ายไฟเลี้ยง : ถ่านขนาด AAA จำนวน 3 ก้อน (ใช้ถ่านชาร์จได้)
  6. ระยะเวลาการใช้งาน : ประมาณ 2 ชั่วโมง (ขณะแบตเตอรี่เต็ม)
  7. ช่วงอุณหภูมิการใช้งาน : 0-40 องศาเซลเซียส

การเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์รถไฟจะมีด้วยกัน 2 โหมด คือ Track Mode และ Free Mode โดยเราสามารถใช้ในการเคลื่อนที่บนรางที่มากับชุดในกล่อง หรือสามารถนำไปใช้กับการเรียนรู้โดยไม่ใช้รางก็ได้ นอกจากนนี้ตัวหุ่นยนต์มีฟังก์ชันหลายรูปแบบ เช่น ฟังก์ชันการเล่นเสียงเพลง, การติดตามเส้นอัจฉริยะ, การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง โดยใช้เซนเซอร์หลายรูปแบบและการตรวจจับเส้นนำทางสามารถประกอบรางได้อย่างอิสระด้วยการเพิ่มและลดจำนวนบล็อกรางไม้ และตัวหุ่นยนต์ต่อใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้ใช้จินตนาการในลักษณะของการเล่นเกม

จุดเด่นสำคัญของตัวหุ่นยนต์ Robobloq Coding Express

  1. การใช้สติกเกอร์สีสำหรับการขับเคลื่อนหุ่นยนต์ 
  2. การควบคุมทิศทาง
  3. การควบคุมด้วยเสียง
  4. การควบคุมด้วยนกหวีด
  5. การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
  6. การตอบสนองในเรื่องความสนุกสนาน
  7. การประกอบชิ้นส่วนในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างอิสระ
  8. การนำไปเรียนรู้ได้หลายวัยสำหรับเด็ก
  9. เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่มีอันตรายต่อเด็กเล็ก และตัวหุ่นยนต์ใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูง

ลักษณะของหุ่นยนต์รถไฟ

สำหรับลักษณะของตัวหุ่นยนต์รถไฟนี้ จะเป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กแบบ 4 ล้อ ตัวถังจะเป็นลักษณะโค้งมน (ไม่มีส่วนที่เป็นมุมแหลมที่อาจจะทำให้เกิดอันตราย) ปุ่มกดรับคำสั่งการทำงานอยู่ข้างบน ช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ตัวจะขับเคลื่อนจะเป็นล้อหลัง 2 ล้อ และควบคุมการเลี้ยวให้กับตัวหุ่นยนต์ในรูปข้างล่างจะแสดงลักษณะของตัวหุ่นยนต์

ลักษณะของหุ่นยนต์รถไฟด้านบน/ด้านล่าง

ตัวอย่างการต่อรางสำหรับให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่

ฟังก์ชันการใช้งานตัวหุ่นบยนต์ประกอบด้วย
  1. ปุ่มควบคุมการเปิด/ปิด : ON/OFF Button
  2. ปุ่มกดควบคุม A : A Key
  3. ปุ่มกดควบคุม B : B Key
  4. ไมโครโฟน : Microphone
  5. แอลอีดีแสดงผล : LED Lamp
  6. เซนเซอร์อินฟราเรด : Infraed Sensor
  7. ฝาครอบแบตเตอรี่ : Battery Cover
  8. ตำแหน่งปุ่มการพ่นไอน้ำ : Mainstream building
  9. ตัวรับกันกระแทกแม่เหล็ก : Adsorption Magnet
  10. ตัวเซนเซอร์สี : Color Sensor
  11. ชุดรางประกอบให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ : Beech Track
การใส่แบตเตอรี่ให้กับตัวหุ่นยนต์

สำหรับตัวหุ่นยนต์ Robobloq Coding Express จะใช้แบตเตอรี่ขนาด AAA จำนวน 3 ก้อน ที่ตำแหน่งฝาครอบด้านบน โดยเราจะต้องคลายสกรูออกก่อนด้วยไขควง 4 แฉกขนาดเล็กแล้วนำฝาครอบออก จากนั้นให้เราใส่แบตเตอรี่ในช่องรับที่กำหนดโดยจะต้องดูตำแหน่งขั้วบวกและขั้วลบให้ถูกต้อง และให้เราปิดฝาครอบและขันสกรูให้กลับเป็นลักษณะเดิม

ตำแหน่งการถอดและใส่แบตเตอรี่ให้กับตัวหุ่นยนต์

อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับตัวหุ่นยนต์ 

อุปกรณ์ประกอบสำหรับตัวหุ่นยนต์ต่างๆ สามารถอธิบายเป็นกลุ่มเพื่อให้เข้าใจง่าย และแบ่งตามกิจกรรมต่างๆ ในรูปที่แสดงข้างล่างจะกลุ่มของอุปกรณ์สำหรับนำมาใช้งานและช่วยให้เข้าใจได้ง่าย คือ อุปกรณ์เกี่ยวกับรางสำหรับให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่, การ์ดคำสั่งให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่, ตัวหุ่นยนต์ Coding Express, อุปกรณ์ใช้งานร่วมกับตัวหุ่นยนต์ และชุดสื่อประกอบการเรียนรู้สำหรับตัวหุ่นยนต์ Coding Express

อุปกรณ์เกี่ยวกับรางสำหรับให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่

ตัวอย่างการต่อรางสำหรับให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบต่างๆ

สติกเกอร์คำสั่งการเคลื่อนที่สำหรับตัวหุ่นยนต์

สำหรับการให้ตัวหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ตามทิศทางที่ต้องการนั้น จะใช้วิธีการนำสติกเกอร์ไปติดที่บริเวณรางที่ผู้เรียนได้ประกอบขึ้นตามที่ต้องการ โดยจะต้องติดสติกเกอร์คำสั่งนี้ก่อน คือ เมื่อเราประกอบรางที่มีทางแยกตรงและไปทางขวา เมื่อเราต้องการให้หุ่นยนต์ไปด้านขวาจะต้องใช้สติกเกอร์สีเหลืองและแดง ติดก่อนหน้าเล็กน้อย (ด้านซ้ายมือสุดแถวที่ 2 รูปข้างบน) โดยตัวหุ่นยนต์จะกระทำตามคำนั้นๆ หรือเราสามารถให้ตัวหุ่นยนต์ส่งสัญญาณเสียงต่างๆ ได้เช่นกันเช่น รถพยาบาล, รถตำรวจ และเสียงเพลงต่างๆ เป็นต้น

โหมดการควบคุมตัวหุ่นยนต์

  1. การเคลื่อนที่แบบกำหนดด้วยราง (Track Mode)

การควบคุมการเคลื่อนที่แบบ Track Mode จะเป็นลักษณะให้ตัวหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในรางที่กำหนด โดยผู้เรียนสามารถปรับลักษณะของรางได้หลายรูปแบบ และผู้เรียนจะต้องกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์ด้วยแถบสติกเกอร์สี ซึ่งจะต้องติดไว้บริเวณที่รางข้างใต้ที่ตัวหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่ผ่านและก่อนกระทำคำสั่งนั้นๆ

2. การเคลื่อนที่แบบอิสระ (Free Mode)

การให้ตัวหุ่นยนต์เคลื่อนที่อิสระบนพื้นเรียบ โดยตัวหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่เดินหน้าและถอยหลัง การหลบหลีกสื่งกีดขวางและการให้เคลื่อนที่ตามที่กำหนด ซึ่งผู้ใช้สามารถควบคุมได้ 2 รูปแบบคือ แบบเคลื่อนที่ตามวัตถุด้านหน้าเป็นตัวกำหนด (Intelligent Tracking) ให้ตัวหุ่นยนต์เดินตาม และการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอัตโนมัติพร้อมทั้งการหลบหลีกสิ่งกีดขวางต่างๆ ข้างหน้าไม่ให้ชน (Intelligent Obstacle Avoidance)

การเคลื่อนที่ตามวัตถุด้านหน้าเป็นตัวกำหนด

.

การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอัติโนมัติและหลบหลีกสิ่งกีดขวาง

3. การควบคุมแบบใช้นกหวีด (Whistling)

การเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์ด้วยการใช้เสียงนกหวีด (ใช้ความถี่เสียงความถี่ประมาณ 2kHz-2.5kHz) โดยสามารถเลือกให้ตัวหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ทั้งแบบ การเคลื่อนที่แบบกำหนดด้วยราง (Track Mode) และการเคลื่อนที่แบบอิสระ (Free Mode) ซึ่งตัวหุ่นยนต์จะสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเร็วขึ้นตามจังหวะเสียงนกหวีดที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเคลื่อนที่อยู่

การควบคุมหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่แบบใช้นกหวีด (Whistling)

การแสดงผลและการรับสัญญาณการทำงาน

  1. การแสดงผลด้วยการเคลื่อนที่ : เป็นการตอบสนองต่อการรับคำสั่งการทำงานที่เกิดขึ้นในลักษณะต่างๆ เช่น การรับคำสั่งเสียง การเคลื่อนที่ตามโหมดที่กำหนด
  2. การแสดงผลด้วยสัญญาณเสียง : การกระทำคำสั่งของตัวหุ่นยนต์ที่เกิดขึ้น เช่น การพบตำแหน่งสติกเกอร์คำสั่ง หรือการส่งสัญญาณการเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์
  3. การแสดงผลด้วยแอลอีดีด้านหน้า : แสดงการตอบสนองต่อการรับคำสั่งสำหรับควบคุมหุ่นยนต์
  4. การรับคำสั่งผ่านสวิตช์ควบคุม : ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบการทำงานต่างๆ ของตัวหุ่นยนต์ เช่น การเลือกโหมดการเคลื่อนที่ และการเปิด/ปิด ตัวหุ่นยนต์
  5. การรับสัญญาณอินฟราเรด : ทำหน้าที่ตรวจจับวัถุด้านหน้าเพื่อหลบหลีกและเคลื่อนที่ด้วยดัวเองแบบอัตโนมิติ หรือควบคุมการเคลื่อนที่
  6. การตรวจจับคำสั่งด้วยเซนเซอร์สี : จะเป็นการรับคำสั่งอีกรูปแบบหนึ่งโดยตัวเซนเซอร์จะอยู่ข้างใต้ตัวหุ่นยนต์ (ด้านหน้า) เช่น การเคลื่อนที่ตามทิศทางที่กำหนด หรือการรับคำส่งเพื่อส่งสัญญาณเสียงเพลง เป็นต้น

ข้อมูลอัปเดตสำหรับการใช้งาน 

การอัปเดตข้อมูลต่างๆ และคู่มือการใช้งานเกี่ยวกับตัวหุ่นยนต์ Robobloq Coding Express สามารถเข้าไปได้ที่เว็บไซต์ https://www.robobloq.com/support/k10 (คู่มือการใช้งาน) และในส่วนของโปรแกรมการทำงาน ซึ่งเข้าไปอัปเดตได้ที่ https://www.robobloq.com/software/download (โปรแกรมสำหรับอัพเดต) ทั้งนี้การอัปเดตตัวหุ่นยนต์ด้วยโปรแกรมจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ (PC) ในการโปรแกรมผ่านพอร์ต micro USB Port ร่วมด้วยเพิ่มเติม


เว็บไซต์สำหรับดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน

เว็บไซต์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมอัพเดตใหม่

สำหรับตัวหุ่นยนต์ Coding Express เป็นสินค้าอีกหนึ่งชิ้นของบริษัท Robobloq ที่สามารถใช้เป็นชุดสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็กตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และสร้างความคุ้นเคยในการโปรแกรมคำสั่งให้กับตัวหุ่นยนต์ ทั้งนี้เพื่อผู้เรียนได้รู้และความเข้าใจพื้นฐานเบื้องต้น สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

 

 

ข้อมูลโดย:

  1. https://www.robobloq.com/product/coding-express
  2. https://www.robobloq.com/support/k10
  3. https://www.robobloq.com/support
  4. https://static.robobloq.cn/wiki/K10_user_manual.pdf
  5. https://www.youtube.com/watch?v=7iUPCXb-WhY
  6. https://www.youtube.com/watch?v=p_SSMgtz2m4
  7. https://www.youtube.com/watch?v=AmbO5zrKB3o&t=98s

.

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 0 2826 8263 โทรสาร 0 2826 8356-59 อีเมล์ stem@se-ed.com

.