JetMax Hiwonder กับการควบคุมแขนกลได้หลายรูปแบบ

.

กับชุดทดลองแขนกล JetMax Hiwonder ผู้ทดลองสามารถควบคุมการทำงานได้หลายรูปแบบ (Variety of Control Modes)  โดยออกแบบเพื่อให้ง่ายสำหรับผู้ใช้หรือผู้ทดลอง รวมทั้งเรียนรู้เพื่อที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุมในรูแบบต่างๆ ซึ่งรองรับการประกอบด้วย การควบคุมคอมพิวเตอร์ (PC Control), การควบคุมด้วยแอพพลิเคชั่น (APP Control), การควบคุมเมาส์ (Mouse Control) และการควบคุมด้วยจอยสติกส์ (Wireless Handle Control) ส่วนหนึ่งของการควบคุมได้หลายรูปแบบเพื่อความเพลิดเพลิน รวมทั้งช่วยเป็นไอเดียและช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์ที่จะนำชุดทดลองแขนกล JetMax Hiwonder ไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ และเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการเรียนรู้ทางด้านการพัฒนาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)

.

.

สำหรับรูปแบบการควบคุมในบทความนี้เป็นพื้นฐานของการเชื่อมต่อการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมภายนอกต่างๆ ซึ่งผู้ทดลองหรือผู้ใช้คุ้นเคย แต่เราสามารถนำไปปรับใช้งานได้ตามความเหมาะสม และสามารถพัฒนารูปแบบของการควบคุมให้กับชุดทดลองแขนกลเพิ่มเติมได้อีกมากมาย เช่น การควบคุมจากบอร์ดประมวลผลต่างๆ การควบคุมผ่านอินเตอร์เน็ต หรือการควบคุมผ่านอุปกรณ์เซนเซอร์ เป็นต้น

 

1. การควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (PC Control)
การควบคุมชุดทดลองแขนกล JetMax Hiwonder ด้วยคอมพิวเตอร์นั้น จะเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกในการทดลองโดยในชุดทดลองจะมาพร้อมโปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานที่เข้าใจง่าย โดยโปรแกรมจะให้ผู้ทดลองสามารถควบคุมได้ในทุกส่วน รวมทั้งการเคลื่อนที่แบบพิกัด สำหรับการพัฒนาโปรแกรมคำสั่งที่มีความซับซ้อนได้ตามต้องการ และเราจะเห็นรูปแบบการทำงานรวมทั้งการแสดงผลการทำงานที่เกิดขึ้น (First Person View : FPV)
รูปที่ 1 แสดงลักษณะของโปรแกรมการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (PC Control)

.

2. การควบคุมด้วยแอพพลิเคชั่น (APP Control)
สำหรับการควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือหรือแทบเล็ตนั้น เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่สะดวกต่อการควบคุมและเหมาะกับการควบคุมแบบแสดงผลที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ซึ่งเร็วๆ นี้ทางบริษัทผู้ผลิตชุดทดลองแขนกลจะวางจำหน่ายในเว็บไซต์ เพื่อความสะดวกในการนำมาใช้งาน โดยจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มาพร้อมกับแอพพลิเคชั่นคือ การแสดงผลวิดีโอการทำงานแบบเวลาจริง (Real Time) ช่วยให้ผู้ใช้งานเห็นลักษณะการทำงานที่เกิดขึ้นและตรวจสอบผลการทำงานได้ทันที

รูปที่ 2 การควบคุมด้วยแอพพลิเคชั่น (APP Control)

.
3. การควบคุมด้วยจอยสติกส์ (Wireless Handle Control)
อีกรูปแบบหนึ่งของการควบคุมนั้นคือ การใช้จอยสติกส์ซึ่งเราสามารถควบคุมได้ในระยะไกลถึง 15 เมตร โดยการควบคุมด้วยจอยสติกส์จะเป็นที่คุ้นเคยสำหรับท่านที่ชอบการเล่นเกมส์ และเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาให้ชุดทดลองแขนกล JetMax Hiwonder ที่สามารถควบคุมด้วยอุปกรณ์นี้ได้เพิ่มเติม
รูปที่ 3 แสดงการควบคุมด้วยจอยสติกส์ (Wireless Handle Control)

.

4. การควบคุมด้วยเม้าส์คอมพิวเตอร์ (Mouse Control)
การควบคุมด้วยเม้าส์คอมพิวเตอร์นั้น เราสามารถใช้การเชื่อมต่อด้วยเม้าส์แบบมีสายและแบบไร้สาย ซึ่งการควบคุมด้วยเม้าส์นั้นเหมาะสำหรับการนำเสนอการควบคุมตัวแขนกลแบบง่ายอีกวิธีหนึ่ง และการทำงานแบบให้เคลื่อนที่เฉพาะส่วน
รูปที่ 4 การควบคุมด้วยเม้าส์คอมพิวเตอร์ (Mouse Control)

.

สำหรับบทความในตอนนี้เป็นการนำเสนอลักษณะและวิธีการควบคุมการทำงานชุดทดลองแขนกลแบบเบื้องต้น เพื่อเป็นไอเดียให้กับผู้ใช้หรือผู้ทดลอง สามารถนำไปพัฒนาต่อในรูปแบบต่างๆ โดยจะสามารถพัฒนารูปแบบการควบคุมได้เอง และประยุกต์การใช้งานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานร่วมกันได้ในแบบที่ต้องการ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 โทรศัพท์ 02 826 8263 โทรสาร 02 826 8356-59 อีเมล์ stem@se-ed.com.

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

1.       https://www.kickstarter.com/projects/jetmax/jetmax-the-ai-vision-robotic-arm-for-endless-creativity?ref=cp2kts&token=834485a0
2.       https://web.facebook.com/groups/787004361989072)?_rdc=1&_rdr
3.       https://www.hiwonder.hk/pages/kickstarter
4.       https://www.youtube.com/channel/UCsQ9JmAk1Mjiz5AvQHUEYdg